ประวัติความเป็นมาของวิทยาลัยเทคโนโลยีชัยภูมิบริหารธุรกิจ
วิทยาลัยเทคโนโลยีชัยภูมิบริหารธุรกิจ หรือโรงเรียนชัยภูมิบริหารธุรกิจ เริ่มก่อตั้งครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2522 โดยคณะผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร คือ ดร.กุณฑล ไชยเศรษฐ อาจารย์วลัยพันธ์ กองจันทร์ คุณรัศมี ทองศรีพงษ์ และ พ.ต.ต. จำนง ต้นไพบูลย์ มีอาคารเรียน 3 หลัง เริ่มมีจำนวนนักเรียน นักศึกษา 315 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาประเภทวิชาพณิชยกรรม และช่างอุตสาหกรรม โดยมีชื่อเดิม เมื่อครั้งก่อตั้ง “โรงเรียนชัยภูมิพาณิชยการ-ช่างกลวิจิตศิลป์” ต่อมาในปี พ.ศ.2524 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนชัยภูมิโพลิเทคนิค” ซึ่งเปิดทำการสอนเฉพาะประเภทวิชาพาณิชยกรรมและบริหารธุรกิจ จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนเป็น “โรงเรียนชัยภูมิบริหารธุรกิจ” และมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Chaiyaphum Business Administration -College หรือ C-BAC จนถึงปัจจุบัน เปิดทำการสอนประเภทวิชาพาณิชยกรรม บริหารธุรกิจ และช่างอุตสาหกรรม ภายใต้การถือใบอนุญาตของ อาจารย์วลัยพันธ์ กองจันทร์ โดยมี ดร.จักรินทร์ ปัณยาลักษณ เป็นผู้จัดการและ ดร.อรอุมา ไชยเศรษฐ เป็นผู้อำนวยการ
วิทยาลัเทคโนโลยีชัยภูมิบริหารธุรกิจ ตั้งอยู่อาคารเลขที่ 107/118ก ถนนชัยประสิทธ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เป็นโรงเรียนอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา (สอศ.) กระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อที่ทั้งหมด 10 ไร่ 1 งาน 4 ตารางวา โรงเรียนได้พิจารณาถึงความเหมาะสม และแนวโน้มของชุมชนในความต้องการด้านการศึกษาประกอบกับสภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคมในหลายด้านประกอบกัน จึงให้มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมและปรับหลักสูตร ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ดังนี้
ปีการศึกษา 2524 | ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิคส์ | |
ปีการศึกษา 2525 | ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ, สาขาการบัญชี, การตลาด | |
ปีการศึกษา 2526 | ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ประเภท วิชาบริหารธุรกิจ (สาขาการบัญชี, การตลาด) | |
ปีการศึกษา 2535 | ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ | |
ปีการศึกษา 2546 | ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร | |
ปีการศึกษา 2547 | ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานยานยนต์ | |
ปีการศึกษา 2547 | ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยายนต์ |
สถานที่ตั้ง
วัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งสถานประกอบการ
1. เพื่อจัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในประเภทวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และประเภทวิชาบริหารธุรกิจและ ประเภทวิชาชีพอื่น ตามสาขาวิชาที่กำหนดหรือได้รับอนุญาต ตามหลักสูตรของคณะกรรมการอาชีวศึกษา หรือสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา หรือสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
2. เพื่อสร้างโอกาสและตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเยาวชนและประชาชนในทางวิชาชีพตามความถนัด ความสนใจและศักยภาพของปัจเจกบุคคล ที่สัมพันธ์กับความต้องการในการพัฒนาประเทศด้านสังคม เศรษฐกิจและตลาดแรงงาน รวมทั้งการประกอบอาชีพอิสระต่าง ๆ
3. เพื่อจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนตามหลักการที่เน้นที่เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะตามศักยภาพของผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ทักษะ เจตคติทั้งในด้านวิชาชีพ วิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีและความรู้ที่สัมพันธ์กัน มีคุณธรรม จริยธรรมตามจุดมุ่งหมายและ มาตรฐานของหลักสูตร อย่างสอดคล้องกับ ปรัชญาสถาบันฯ และการเป็นสมาชิกที่ดีของทั้งในระดับชุมชน สังคม ประเทศชาติและสังคมโลก
4. เพื่อบริการอาชีวศึกษาด้วยการบริหารจัดการที่มีสถานศึกษาเป็นฐาน พร้อมด้วยการจัดการความรู้เพื่อให้สถานศึกษาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีบวนการชัดเจนทั้งในด้านการวางแผน การดำเนินการ การวัด ประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงและพัฒนาต่อเนื่อง
5. เพื่อบริการจัดการอาชีวศึกษาความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ทั่งองค์กร โดยมีระบบความคุมคุณภาพ ระบบการตรวจสอบคุณภาพ และระบบการประเมินคุณภาพในอย่างครบถ้วน เป็นที่ศรัทธา เชื่อมั่นไว้วางใจของผู้ปกครองและผู้เรียนในฐานลูกค้าและผู้รับบริการรวมทั้งชุมชนสังคมบริบทแวดล้อม
พันธกิจ
วิทยาลัยเทคโนโลยีชัยภูมิบริหารธุรกิจได้นำวิสัยทัศน์มากำหนดเป็นพันธกิจเพื่อเป็นแนวทางสู่การกำหนดนโยบายจนถึงแผนงานต่างๆ ที่สามารถปฏิบัติได้จริงดังนี้
1. จัดการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ เพื่อผลิตและพัฒนา กำลังคนทั้งในระดับกึ่งฝีมือ ระดับฝีมือระดับเทคนิคในประเภทวิชาอุตสาหกรรม พณิชยกรรม และประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ด้วยระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ให้ผู้เรียนซึ่งมีคุณลักษณะตามปรัชญาสถาบันอย่างมีคุณภาพ และมาตรฐาน สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สามารถตอบสนองความต้องการของตลาด และการประกอบอาชีพอิสระ
2. พัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การวิจัยและพัฒนาทั้งภายในสถาบัน และในรูปแบบของกระบวนการระดมทรัพยากรร่วมกันเพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือสถาบันอาชีวศึกษา และสถาบันการศึกษาอื่นๆ ทุกระดับ โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างกว้างขวาง ต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
3. สร้างความสัมพันธ์และประสานงานกับชุมชนหรือองค์กรภายนอกทั้งในเชิงรุกและเชิงรับสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน สังคม ในการสืบสาน ทำนุบำรุง ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมและจริยธรรมที่ดีงามอันเป็นเอกลักษณ์ไทย การนำภูมิปัญญาจากภายนอกมาส่งเสริมการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนทางด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดี
ปรัชญา
คณะผู้ก่อตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีชัยภูมิบริหารธุรกิจมีความเชื่อว่าถ้านักเรียนทุกคนมีวินับเคารพใน กฎ ระเบียบ ของโรงเรียนฯ นักเรียนทุกคนสามารถที่จะศึกษาหาความรู้ จากครู-อาจารย์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับทักษะทางด้านวิชาชีพ ที่จะติดตัวไปตลอดชีวิต โรงเรียนจึงถือเป็น หน้าที่อันสำคัญ ที่จะสร้างผู้สำเร็จการศึกษาให้มีระเบียบ วินัย ความรู้ ทักษะที่จำเป็น เพื่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องจนถึงภายหลังจบการศึกษาให้ผู้สำเร็จการศึกษาได้นำคุณลักษณะต่างๆ ที่ได้รับจากทางโรงเรียน ไปใช้ในชีวิตประจำวันอันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม จนถึงประเทศชาติ ดังปรัชญาของวิทยาลัยฯ ที่ว่า
- สำนึกคุณธรรม (Moral Mind)
- ปัญญาเลิศล้ำ (Excellent Wit)
- มนุษยสัมพันธ์เด่นไกล (Outstanding Human Relationship)
- ทักษะควบคู่ สู่ชีวิตใหม่ (Competent Skills for New Lives)
- ธุรกิจสดใส เพื่อไทยพัฒนา (Brighten Business for Thailand Wealth)
วิสัยทัศน์
วิทยาลัยเทคโนโลยีชัยภูมิบริหารธุรกิจ มุ่งหวังเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีมาตรฐานคุณภาพจัดการศึกษาเป็นเลิศมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สวยงามส่งเสริมต่อการเรียนรู้ครูผู้สอนมีความรู้ ความสามารถทักษะในการจัดประสบการณ์เรียนการสอนและพัฒนาตนเองตลอดเวลา บุคลากรทุกฝ่ายมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งให้ความร่วมมือสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน เพื่อพัฒนานักเรียน-นักศึกษาให้มีระเบียบ วินัย ความรู้ ทักษะและคุณธรรม สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
เอกลักษณ์วิทยาลัย (The College’s Uniqueness)
- ทักษะชีวิต (Life Skills)
- จิตอาสา (Public Mind)
- ภาวะผู้นำ (Leadership)
- คุณธรรมนาความรู้ (Moral Knowledge)
อัตลักษณ์ผู้เรียนของวิทยาลัย (The College Students’ Identity)
อิทธิบาท 4 (คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ: 4-Path for success)
- ฉันทะ (Passion)
- วิริยะ (Energy)
- จิตตะ (Thoughtfulness)
- วิมังสา (Reasoning)
เป้าหมายของสถานประกอบการ
เชิงปริมาณ
– เปิดและดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตรสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในการเรียนการสอนภาคปกติจำนวน 2 ประเภทวิชา โดยเป็นประเภทวิชาพาณิชยกรรม จำนวน 1 สาขาวิชา คือ สาขาพณิชยการ และประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม จำนวน 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชางานเครื่องกล
– เปิดและดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตรสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในการเรียนภาคปกติและภาคสมทบจำนวน 2 ประเภทวิชา โดยเป็นประเภทวิชาบริหารธุรกิจ จำนวน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาบัญชี
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และเป็นประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม จำนวน 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเครื่องกล
– จัดบริการการอาชีวศึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษาในทุกระดับชั้นปี ทั้งในภาคุนักศึกษาเข้าใหม่ไม่ต่ำกว่า 480 คน และมีอัตราการออกกลางคันไม่เกินร้อยละ 15 ของนักเรียนนักศึกษาทั้งระบบ
– วิทยาลัยฯ มีครูวิชาชีพ ครูสามัญ/พื้นฐาน บุคลากรการศึกษา และบุคลากรสนับสนุนที่มีสมรรถนะทั้งในด้านความรู้ ความสามรถ ทักษะ เจตคติ ที่ประกอบด้วยจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ครบถ้วนและเพียงพอตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยบุคลากรเหล่านี้ ทุกคนต้องได้รับการพัฒนาในทุกรูปแบบไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง/ปี
– วิทยาลัยฯ จัดให้มีซึ่งอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิทยบริการ ห้องสมุด โรงฝึกงาน พร้อมด้วยสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่พร้อมบริการให้แก่ผู้เรียนด้วยความครบถ้วนในสัดส่วนและระดับที่เพียงพอตามเกณฑ์มาตรฐาน – วิทยาลัยฯ จัดให้มีซึ่งงบประมาณ และทรัพยากรต่างๆ ที่จะเป็นปัจจัยดำเนินการบริหารจัดการตามระบบแผนปฏิบัติการทั้งที่เป็นการสรรหาจากภายใน และการสนับสนุนจากภายนอกโดยรัฐ องค์กรหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน ประชาชน อย่างเพียงพอ
เชิงคุณภาพ
– ทุกหลักสูตร รายวิชา รวมทั้งกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพ ทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติได้โดยสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ชุมชน สังคมประเทศชาติ รวมทั้งความเป็นพลเมืองโลก
– ผู้เรียนทุกระดับและ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยเฉลี่ยทั้งระบบ ไม่ต่ำกว่า 2.50 จาก 8 ระดับตามระเบียบว่าด้วยการประเมินผล
– ผู้เรียนทุกระดับและชั้นปี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ในการเลื่อนชั้นแต่ละชั้นปี โดยทั้งระบบในอัตราส่วน ร้อยละ 80 ขึ้นไปของนักเรียน นักศึกษา ในแต่ละสาขาวิชา
– ผู้เรียนทั้ง 2 ระดับสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์และเวลาที่กำหนด ในอัตราส่วน ร้อยละ 80 ขึ้นไป ของนักเรียน นักศึกษาที่เข้าศึกษาในรุ่นเดียวกัน
– ผู้เรียนในระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 3 และระดับ ปวส. ชั้นปีที่ 2 ได้รับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร และมีผลการประเมินการฝึกประสบการณ์ฯ โดยเฉลี่ยในระดับ 3.50 ขึ้นไป ในทั้ง 2 ระดับ
– ผู้เรียนในระดับปวช. ชั้นปีที่ 3 และ ปวส. 2 สอบผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพในอัตราส่วน ร้อยละ 80 ขึ้นไป ของนักเรียน นักศึกษาที่เข้ารับการประเมิน
– ครูผู้สอนเตรียมและจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างครบถ้วนตามหลักสูตรและคาบเวลาที่กำหนด มีการประเมินตามสภาพจริง เมื่อรับการประเมินประจำภาคเรียน โดยคณะกรรมการที่สถาบันฯ กำหนด และโดยผู้เรียนแล้ว มีคุณภาพโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า ในระดับ 4 จากมาตรวัด 5 ระดับ
ตราสัญลักษณ์วิทยาลัย
สีประจำวิทยาลัยเทคโนโลยีชัยภูมิบริหารธุรกิจ
สีฟ้า หมายถึง ความกว้างไกลทางวิชาการ ทันสมัยและครอบคลุมเป็นสากล อุปมาเช่น ท้องฟ้าซึ่งมี ความครอบคลุม กว้างไกล ครอบคลุมไปทั่วโลกเช่นกัน
สีแดง หมายถึง ความเข้มข้นของผู้เรียนให้ได้รับทั้งด้านพุทธิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัย อย่างครบถ้วน อุปมาเช่น สีแห่งโลหิตที่เข้มข้นด้วยพิสัยทั้ง 3 ด้าน
อักษรย่อวิทยาลัยฯ
การติดต่อสอบถามภายในบริเวณวิทยาลัยเทคโนโลยีชัยภูมิบริหารธุรกิจ
เมื่อเดินทางมาถึงโรงเรียน เข้าประตูทางถนนสนามบินและเลี้ยวซ้ายเข้าลานจอดรถ ติดต่อสอบถามที่สำนักงานวิทยาลัยฯ ชั้นล่างอาคารวลัยพันธ์ วิทยาลัยเปิดทำการทุกวัน ไม่มีวันหยุดยกเว้นนักขัตฤกษ์ที่สำคัญ เวลาทำการ 07.45 น.-16.30 น. ยกเว้นเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลาทำงาน 08.15 น. – 16.00 น.